หลังจากที่เราเดินทางในถิ่นทุรกันดารกันมาเกือบ 40 ปีแล้ว วันนี้เราจะพักจากถิ่นทุรกันดารที่แห้งแล้ง มาศึกษาเรื่องน้ำๆ กันบ้าง เราจะมาศึกษาเรื่องของเรือโนอาห์ ที่พระคัมภีร์ภาษาไทยเรียกว่า "นาวา (Ark)" หวังว่าพี่น้องจะไม่มีใครเมาคลื่นนะครับ :)
ความเดิมจากตอนที่แล้ว เรื่องของแผ่นดินพระสัญญา (The Promised Land) เป็นเรื่องที่ผู้เชื่อหลายต่อหลายคน เข้าใจความหมายของมันผิดเพี้ยนไปจากที่พระเจ้าต้องการสื่อสาร พระคัมภีร์เดิมเป็นเงา (Shadow) ของแก่นสาร (Substance) ในพระคัมภีร์ใหม่ ภาพเงาในพระคัมภีร์เดิมได้ถูกซ่อนอยู่ในหลายรูปแบบ อาทิเช่น คน, เหตุการณ์ หรือสถานที่ ในบทความนี้ เราจะมาถอดรหัสภาพสัญลักษณ์ของ "แผ่นดินพระสัญญา" ในพระคัมภีร์เดิม ร่วมกันว่า มันเป็นภาพเล็งถึงอะไรในพระคัมภีร์ใหม่??
และแล้วพวกเราก็เดินทางมาถึงบทความที่ 4 ของซีร์ย์ 40 ปีในถิ่นทุรกันดาร ถึงตรงนี้ เราได้สำรวจ สามภาพสัญลักษณ์ที่เป็นบุคคล: โมเสส, โยชูวา และคาเลบ กับอีกหนึ่งภาพสัญลักษณ์ ที่เป็นเหตุการณ์ พิธีปัสกา (The Feast of Passover) วันนี้เราจะมาสำรวจเพิ่มอีก 1 ภาพสัญลักษณ์ที่เป็นสถานที่ สถานที่นั้น พระคัมภีร์เรียกว่า "แผ่นดินพระสัญญา (The Promised Land)"
ในบทความ 40 ปีในถิ่นทุรกันดาร ภาค 3 พิธีปัสกา ผมได้เขียนถึงเลือดแกะที่ทา บนวงกบประตู วันนี้ผมอยากจะเขียนถึง 1 ใน 3 ของกิน ที่พระเจ้าให้คนยิวกิน ในคืนวันปัสกา คืนที่ทูตแห่งความตาย ผ่านเข้ามาประหารบุตรหัวปี ในแผ่นดินอียิปต์
สองภาคแรก เราได้สำรวจ ภาพสัญลักษณ์ที่เป็นตัวบุคคล ในบทนี้ เราจะมาสำรวจภาพสัญลักษณ์ที่เป็นเหตุการณ์ เหตุการณ์นี้ เป็น 1 ใน 7 เทศกาลที่คนยิว ถือปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ เทศกาลนี้ เรียกว่า "เทศกาลปัสกา (The Feast of Passover)"
เมื่อกล่าวถึงโมเสส และโยชูวาไปแล้ว จะไม่เอ่ยถึง บุรุษอีกคนหนึ่ง ที่มีชื่อว่า "คาเลบ" ก็ดูจะกระไรอยู่ คนรุ่นแรกที่ออกจากอียิปต์ มีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ได้เข้าสู่ดินแดนพระสัญญา 2 คนนั้นก็คือ โยชูวา และคาเลบ ถ้าเราดูตามเนื้อเรื่อง บทบาทของคาเลบ ในหลายๆตอน เหมือนจะโดดเด่น กว่าโยชูวาเสียอีก
บทความนี้ เป็นบทความที่ปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหา มาจากบทความต้นแบบเรื่องของโมเสส, โยชูวา และคาเลบ ความตั้งใจแรก ผมตั้งใจจะเขียนเรื่องภาพสัญลักษณ์ของทั้ง 3 คน แต่เมื่อเริ่มเขียนไปเรื่อยๆ ผมรู้สึกว่า มีรายละเอียด ที่น่าสนใจหลายอย่าง ที่ผมไม่อยากจะข้ามผ่านไป ก็เลยขอโม เนื้อหาต้นฉบับ จนกลายเป็นเรื่อง 40 ปีในถิ่นทุรกันดาร ที่พี่น้องกำลังอ่านอยู่นี่แหละครับ
ได้เวลาแล้ว ที่ผมจะกลับมาเขียนเรื่องภาพสัญลักษณ์พระคัมภีร์ตอน 2 ต่อ เป็นเวลาร่วมเดือน หลังจากที่ผมได้เขียนตอนที่ 1 ไป
เรื่องของนางเลอาห์ เป็นเรื่องที่ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงเท่าไหร่ เนื่องจากเธอเป็นแค่นางรอง แต่จริงๆ แล้ว เรื่องของเธอ มีความน่าสนใจ และมีสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ ซึ่งวันนี้ เราจะมาเจาะลึกชีวิตของเธอกัน
การตัดสินใจของพระเยซูในสวนเกทเสมนี ได้เปลี่ยนอนาคตของพระองค์ และพวกเราไปตลอดกาล พระองค์เลือกที่จะไม่ทอดทิ้งพวกเรา และกลับสวรรค์ พระองค์เลือกที่จะอยู่ต่อ และไปที่กางเขน เพื่อที่พระองค์จะได้อยู่กับพวกเรา และรับใช้เราตลอดไป