บทความนี้ ไม่ใช่บทความคั่นเวลา แต่เป็นสะพาน ที่จะเชื่อมไปสู่คำพยากรณ์ ที่นักศาสนศาสตร์ เชื่อว่า เป็นชิ้นส่วนที่หายไป ของเหตุการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นก่อน คำพยากรณ์ในพระธรรมเอเสเคียล 38
วันนี้ ผมอยากจะพูดถึงคำพยากรณ์ในพระธรรมสดุดี บทที่ 83
ความเดิมจากตอนที่แล้ว เรารู้ว่า 2 สัญญาณที่จะต้องเกิดขึ้น ก่อนกองทัพผสมที่มีรัสเซียเป็นแกนนำ จะบุกอิสราเอลก็คือ
1. อิสราเอล ต้องอยู่ในความสงบ ปลอดภัย
2. อิสราเอลจะมั่งคั่งอย่างมากมาย
แต่จากหน้าข่าวทุกวันนี้ มันช่างห่างไกลเหลือเกิน
ประเทศที่เป็นอริของอิสราเอล มีร่างทรง เป็นกองกำลังติดอาวุธ (Proxy Militias) เป็นแขน และเป็นขาให้ ทำให้พวกเขา ไม่มีความจำเป็นต้องเปิดหน้าออกมาแลก แต่ทำงานผ่านตัวแทนไปเรื่อยๆ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ให้ตัวแทนเจ็บ ดีกว่า ตัวเองเจ็บ
จนเมื่อประมาณ 10 ปี+ ที่แล้ว นักศาสนศาสตร์ เริ่มได้รับการสำแดง ถึงคำพยากรณ์ที่ เชื่อได้ว่า จะเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นก่อน คำพยากรณ์ใหญ่ในพระธรรมเอเสเคียล 38
ใช่ครับ ผมกำลังพูดถึงคำพยากรณ์ในพระธรรมสดุดี 83
ใจความ และเนื้อหาของคำพยากรณ์ ผมจะขอพูดถึงในบทความตอนต่อไป แต่วันนี้ ผมอยากจะพูดถึง ผู้เขียน พระธรรมสดุดี 83
คำอธิษฐานขอทรงทำลายศัตรูของอิสราเอล
บทเพลง เพลงสดุดีของอาสาฟ
2พศด 29:30 และเฮเซคียาห์พระราชาและเจ้านายก็บัญชา ให้คนเลวีร้องเพลง ยอพระเกียรติพระเจ้าด้วยถ้อยคำของดาวิดและของ อาสาฟผู้ทำนาย และเขาทั้งหลายร้องเพลงยอพระเกียรติด้วยความยินดี และเขาก็กราบลงนมัสการ (TBS1971)
2Chr 29:30 Moreover King Hezekiah and the leaders commanded the Levites to sing praise to the Lord with the words of David and of Asaph the seer. So they sang praises with gladness, and they bowed their heads and worshiped. (NKJV)
พระธรรม 2 พงศาวดาร บทที่ 29 ข้อ 30 บอกให้เรารู้ว่า อาสาฟ ก็คือ ผู้ทำนาย (the seer)
บทเพลง เพลงสดุดีของอาสาฟ
สดด 83:1-18 1 ข้าแต่พระเจ้า ขออย่าทรงนิ่งอยู่ ข้าแต่พระเจ้า ขออย่าทรงเงียบและเฉยอยู่ 2 เพราะนี่แน่ะ ศัตรูของพระองค์สับสนอลหม่าน บรรดาผู้ที่ชังพระองค์ได้ยกศีรษะของเขาขึ้น 3 เขาวางแผนการแยบคาย สู้ประชากรของพระองค์ เขาปรึกษากันสู้ผู้ที่พระองค์ทรงทะนุถนอม 4 เขาพูดว่า “มาเถิด ให้เรากวาดเขาออกจากการเป็นประชาชาติ อย่าให้ระลึกถึงชื่ออิสราเอลอีกต่อไป” 5 เออ เขาปองร้ายเป็นใจเดียวกัน เขาทำพันธสัญญาสู้พระองค์ 6 คือ เต็นท์ของเอโดมและคนยิชมาเอล โมอับและคนฮาการ์ 7 เกบาล อัมโมน และอามาเลค ฟีลิสเตียกับชาวเมืองไทระ 8 อัสซีเรียก็สมทบเขาด้วย เขาเป็นแขนของลูกหลานของโลต 9 ขอทรงทำกับเขาอย่างพระองค์ทรงกระทำกับมีเดียน อย่างที่ทำกับสิเสราและยาบินที่แม่น้ำคีโชน 10 ผู้ถูกทำลายที่ตำบลเอนโดร์ ผู้กลายเป็นปุ๋ยของที่ดิน 11 ขอทรงทำขุนนางของเขาเหมือนโอเรบและเศเอบ ทำเจ้านายทั้งสิ้นของเขาเหมือนเศบาร์และศาลมุนนา 12 ผู้ที่กล่าวว่า “ให้เราเอาทุ่งหญ้าของพระเจ้า มาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราเถิด” 13 ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ ขอทรงทำเขาให้เหมือนผงคลีที่วนเวียนเหมือนแกลบต่อหน้าลม 14 อย่างไฟเผาผลาญป่าไม้ อย่างเปลวเพลิงที่ให้ภูเขาลุกโพลง 15 ขอทรงติดตามเขาไปด้วยพายุของพระองค์ และทรงทำให้เขาคร้ามกลัวด้วยวาตะ 16 ทรงให้หน้าของเขามีความอาย ข้าแต่พระเจ้า เพื่อเขาจะได้แสวงพระนามของพระองค์ 17 ขอให้เขาอับอาย และกลัวอยู่เป็นนิตย์ ให้เขาอดสูและพินาศไป 18 ให้เขาทั้งหลายทราบว่าพระองค์ผู้เดียว ผู้ทรงพระนามว่าพระเยโฮวาห์ ทรงเป็นผู้สูงสุดเหนือแผ่นดินโลกทั้งสิ้น (TBS1971)
พระคัมภีร์บันทึกว่า พระธรรมสดุดี 83 เขียนขึ้นโดยอาสาฟ (Asaph)
ในบทความนี้ เราจะมาตอบคำถามว่า อาสาฟ คือ ใคร?
พระธรรมสดุดี เป็นพระคัมภีร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นบทเพลง เป็นบทกวี และเป็นคำอธิษฐาน
ผู้เขียนพระธรรมสดุดี สามารถแบ่งออกได้เป็น 7 กลุ่มหลักๆ ดังนี้ (ไม่รวมผู้เขียนย่อย ที่ไม่เปิดเผยนาม อีกหลายต่อหลายท่าน)
1. กษัตริย์ดาวิด (King David): กษัตริย์ดาวิด เขียนหลายบทในพระคัมภีร์สดุดี อาทิเช่น สดุดี 3, 23 และ 51 เป็นต้น
2. บรรดาบุตรชายของโคราห์ (Sons of Korah): ตระกูลโคราห์ คือตระกูลนักร้อง ประจำวิหารฯ บุตรของโคราห์ฯ เขียนไว้ 11 บท ได้แก่ สดุดี 42, 44-49, 84, 85, 87 และ 88
3. กษัตริย์โซโลมอน (King Solomon): เขียนไว้ 2 บทได้แก่ สดุดี 72 และ 127
4. เฮมาน (Heman): เป็นนักร้อง ในสมัยของกษัตริย์ดาวิด และซาโลมอน แต่งสดุดี 88
5. เอธาน (Ethan): ผู้เป็นทั้งนักปราชญ์ และนักดนตรีในศาลาของดาวิด (David's Court) แต่งสดุดี 89
6. โมเสส (Moses): เป็นบทเพลงที่ถือว่า เก่าแก่ที่สุดในพระคัมภีร์ ได้แก่ พระธรรมสดุดี 90
มาถึงกลุ่มสุดท้าย ที่เป็นเนื้อหาหลักของบทความวันนี้
7. อาสาฟ (Asaph): อาสาฟ คือ คนเผ่าเลวี เป็นหัวหน้าของคณะนักร้องประสานเสียงประจำวิหาร (Temple Choris) อาสาฟเขียนพระคัมภีร์สดุดี ทั้งหมด 12 บท ได้แก่ สดุดี 50 และ 70-83
โดยบทสุดท้ายที่อาสาฟเขียน ก็คือ พระธรรมสดุดีบทที่ 83
แล้ว อาสาฟ เป็นใคร?
2พศด 29:30 และเฮเซคียาห์พระราชาและเจ้านายก็บัญชา ให้คนเลวีร้องเพลง ยอพระเกียรติพระเจ้าด้วยถ้อยคำของดาวิดและของ อาสาฟผู้ทำนาย และเขาทั้งหลายร้องเพลงยอพระเกียรติด้วยความยินดี และเขาก็กราบลงนมัสการ (TBS1971)
2Chr 29:30 Moreover King Hezekiah and the leaders commanded the Levites to sing praise to the Lord with the words of David and of Asaph the seer. So they sang praises with gladness, and they bowed their heads and worshiped. (NKJV)
พระธรรม 2 พงศาวดาร บทที่ 29 ข้อ 30 บอกให้เรารู้ว่า อาสาฟ ก็คือ ผู้ทำนาย (the seer)
คำว่า ผู้ทำนาย ตรงนี้ คือคำว่า chozeh (kho-zeh') ในภาษาฮีบรู Strong's Exhaustive Concordance ให้ความหมายของคำนี้ว่า ผู้เผยพระวจนะ (Prophet)
คำเดียวกันนี้ ถูกใช้ในพระธรรมอิสยาห์ บทที่ 30 ข้อ 10 พระคัมภีร์ภาษาไทย ฉบับแปลอมตธรรมร่วมสมัย แปลออกมาได้ตรงกับความหมายในภาษาฮีบรู ในฉบับแปลภาษาอังกฤษ NKJV ก็แปลออกมาได้ดีเช่นกัน
อสย 30:10 พวกเขาบอกผู้ทำนายว่า “อย่าเห็นนิมิตต่างๆ อีกต่อไป!” และบอกผู้เผยพระวจนะว่า “อย่าแจ้งนิมิตถึงสิ่งที่ถูกต้องอีกเลย! ขอให้บอกแต่เรื่องที่น่าฟัง เผยพระวจนะเป็นภาพฝันมายาต่างๆ เถิด (TNCV)
Is 30:10 Who say to the seers, “Do not see,” And to the prophets, “Do not prophesy to us right things; Speak to us smooth things, prophesy deceits. (NKJV)
สรุปให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ อาสาฟ ก็คือ ผู้เผยพระวจนะ ที่เป็นนักแต่งเพลง หรือนักดนตรีในเวลาเดียวกัน
ดังนั้นเอง บทเพลงที่แต่งโดยผู้เผยพระวจนะ จึงเป็นอะไรที่น่าสนใจ และไม่แปลกอะไร ถ้าบทเพลงนั้นๆ จะเป็นทั้งบทเพลง และทั้งคำพยากรณ์ หรือคำเผยพระวจนะ ในเวลาเดียวกัน ดังเช่น บทเพลงในพระธรรมสดุดีบทที่ 83
ความเข้าใจพื้นฐาน ตรงนี้ จะเป็นกุญแจ ให้เราเปิดประตู ไปสู่การตีความคำพยากรณ์ที่ซ่อนอยู่ในสดุดี 83 ในบทความถัดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น